รูปโลโก้กรมปศุสัตว์

วิสัยทัศน์

“เป็นองค์กรพัฒนาการปศุสัตว์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มมูลค่าสินค้าสู่ตลาดโลกและเติบโตอย่างยั่งยืน”

 

พันธกิจ

  1. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคการปศุสัตว์ (บุคลากรกรมปศุสัตว์ เกษตรกร อาสาปศุสัตว์ ผู้ประกอบการ) ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีองค์ความรู้ที่ทันสมัย และมีศักยภาพพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
  2. พัฒนาและยกระดับระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานระดับสากล มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าปศุสัตว์ และสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
  3. พัฒนางานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการปศุสัตว์ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตสามารถตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนและผลักดันให้ เกิดการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อนำไปใช้ในการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตและสามารถต่อยอดนำไปใช้เชิงพาณิชย
  4. รักษาตลาดเก่า แสวงหาตลาดใหม่ ขยายช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยการศึกษาและวิจัยด้านการตลาดตามความต้องการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค รวมทั้งเจรจาการค้ากับคู่ค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออก
  5. บูรณาการและยกระดับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ด้านการปศุสัตว์ให้เป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้าและในระดับสากล
  6. ปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำในการขับเคลื่อนการศุสัตว์

 ภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

กรมปศุสัตว์มีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและนโยบาย การควบคุม การกำกับ การส่งเสริม การวิจัย การถ่ายทอด เทคโนโลยี และการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปศุสัตว์ รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรพันธุกรรมและความหลากหลาย ทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์ เพื่อให้มีปริมาณสัตว์เพียงพอ และมีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย ปราศจากโรค สารตกค้าง และ สารปนเปื้อน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมาย ว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพ อาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถาน พยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วย โรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นที่ เกี่ยวข้อง
  2. ศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์
  3. ตรวจสอบ และรับรอง คุณภาพสินค้าปศุสัตว์ พันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ ชีวภัณฑ์และชีววัตถุสำหรับสัตว์ ยาสัตว์และวัตถุอันตรายด้าน การปศุสัตว์ ระบบการผลิต ปศุสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ และ กระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องในด้าน การปศุสัตว์ เพื่อให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย
  4. ผลิตและขยายพันธุ์สัตว์ น้ำเชื้อ เชื้อพันธุ์พืชอาหารสัตว์ และเสบียงสัตว์ เพื่อการพัฒนา ด้านการปศุสัตว์ และผลิตและ จัดหาชีวภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และชีววัตถุสำหรับสัตว์ เพื่อการ ควบคุมโรคระบาดสัตว์
  5. ควบคุม ป้องกัน กำจัด บำบัด วินิจฉัยและชันสูตร โรคสัตว์ กำกับดูแลสถาน พยาบาลสัตว์ และพัฒนาระบบ การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
  6. ส่งเสริม พัฒนา และ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน การปศุสัตว์ และบริหารจัดการ การประสานความร่วมมือด้าน การปศุสัตว์ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
  7. ดำเนินการ อนุรักษ์ พันธุกรรมและความหลากหลาย ทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์และ ป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการปศุสัตว์
  8. ปฏิบัติการ อื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี มอบหมาย

ค่านิยมองค์กร

“ VI2-SMART ”

V: Value                                  สร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับสินค้าและบริการด้านปศุสัตว์

I: Innovation                              สร้างนวัตกรรมการปศุสัตว์และการบริการ

I: Integration                              บริหารงานแบบบูรณาการ

S: Standard                                สร้างมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์

M: Mastery                                การทำงานอย่างมืออาชีพ

A: Agility                                    ความคล่องตัวและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

R: Responsibility                         มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ

T: Teamwork                             มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกัน

ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ พ.ศ. 2566 – 2570

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับความสามารถบุคลากรด้านการปศุสัตว์สู่ความเป็นมืออาชีพ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดห่วงโซ่ให้ได้มาตรฐานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการบริการเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและมูลค่าใหม่ให้สินค้าและบริการด้านปศุสัตว์
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมการตลาดสินค้าปศุสัตว์
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5 บูรณาการองค์ความรู้และความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ในระดับสากล
  • ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการองค์กรให้มีความเป็นเลิศทุกมิติ สู่ความทันสมัยและสร้างสรรค์

ที่มาของข้อมูล : กองแผนงาน กรมปศุสัตว์  ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ พ.ศ. 2566 – 2570